วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วิดีโอช่วยสอนภาษาคอมพิวเตอร์


วิดีโอการสอนภาษาซี






1.สร้าง Source File ให้ ไปที่ เมนู File > New > Source File หรือใช้ คีย์ลัด Ctrl + N
Source File คือ File ที่เราใช้เขียน Source Code ของโปรแกรมเรา ซึ่งจะถูก Save เป็น นามสกุล .cpp ครับ
2.ทำการ Copy Source Code นี้แล้ว Paste ที่พื้นที่เขียน Source Code
#include <iostream>
using namespace std;
int main()
{
    cout << "Hello World !! \n";
    cout << "This My First Program \n";
  
    cin.get();
  
    return 0;
}
 3.ทำการ Save Source file โดยไปที่ File >Save
โดยเราจะ Save เป็น นามสกุล .cpp เนื่องจากเราเขียนภาษา C++
 
ทำการเลือก Path ที่จะ Save และทำการตั้งชื่อไฟล์ (File name:) helloworld และเลือก Save as type: เป็น C++ source files ซึ่งจะเป็นไฟล์นามสกุล .cpp และจากนั้นกดปุ่ม Save
 4.Complie Source file ไปที่ เมนู Execute > Complie หรือ คีย์ลัด Ctrl + F9
Complie คือ ขั้นตอนการตรวจสอบว่า Source Code ที่เขียนขึ้นถูกต้องตามโครงสร้างของภาษาหรือไม่ และแปลง Source File ที่เราเขียนให้การเป็น Object File ซึ่งขั้นตอนนี้เราจะได้ไฟล์ .exe มา
 
ถ้าเราเขียน Source code ได้ถูกต้อง การ Complie ก็จะสำเร็จและได้ผลลัพธ์ 
และผลจากการ Complie เราจะได้ไฟล์ .exe มา
ถ้ากรณีที่เราเขียน Source code ไม่ถูกต้อง ก็จะไม่สามารถ Complie ได้ (ที่เราเรียกว่า มี Error นั่นแหละครับ) ก็จะมีเส้นแดงๆ ที่คอยบอกว่าส่วนไหนที่ผิดพลาด (ซึ่งบางครั้งก็แล้วว่าเราเขียนผิดพลาดบรรทัดไหน) ให้ทำการแก้ไขให้ถูกต้องแล้วทำการ Complie ใหม่อีกครั้ง

5.Run โปรแกรมเพื่อดูผลลัพธ์ ไปที่ เมนู Execute > Run หรือ Ctrl + F10Run คือ การสั่งให้ไฟล์ .exe ทำงาน เพื่อดูผลลัพธ์การทำงานของโปรแกรม

ผลการรันโปรแกรมแรกของเรา helloworld ซึ่งเขียนด้วย ภาษา C++ ^^

#include <iostream> // ส่วนของการประกาศ Include
using namespace std; // ส่วนของการประกาศ Namespace
int main() // ฟังก์ชั่น main() ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการทำงานของโปรแกรม
// เปิด main()

    //เขียน Source code เริ่มจากตรงนี้เป็นต้นไป
    cout << "Hello World !! \n";
    cout << "This My First Program \n";
   
    // ส่วนนี้มีไว้เพื่อให้หน้าจอเวลา Run ไม่หาย
    cin.get();
    return 0;
// ปิด main()

อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=8WDLfk6kU8k



วิดีโอการสอนเขียนภาษาจาวา







1. เปิด Eclipse ขึ้นมาเลย
2. เลือกที่สำหรับเก็บ Source code เราเรียกว่า "Workspace"
3. เลือก Workbench เพื่อเข้าไปที่หน้าจัดการ Project
4. แสดงหน้าจัดการ Project 
5. สร้าง Project ใหม่ โดยเลือกเป็น Java Project
6. ตั้งชื่อ Project เป็น Helloworld กด Next
7. แสดงโครงสร้างและรายละเอียดของ Project : Helloworld กด Finish
8. สร้าง Class โดยเลือกตามรูป กำหนดชื่อ Class เป็น Helloworld
9. ทดสอบเขียนโค้ด Java  ภายใน Helloworld.java
public class Helloworld {
   public static void main(String[] args) {
      System.out.println("Hello world!");
   }
}
ทำการ Run ด้วย (Ctrl + F11) ถ้าจะได้ผลตามรูปด้านล่าง แสดงว่า การติดตั้งถูกต้องสมบูรณ์พร้อมเริ่มต้นเขียน Java ได้แล้ว

อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=q2zjz0wVorw




วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

ภาษาสำหรับพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์ 


      ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง สัญลักษณ์ที่ผู้คิดพัฒนาภาษากำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนการสื่อสาร / สั่งงาน ระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ การพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์เริ่มต้นจากการเขียนคำสั่งด้วยรูปแบบเลขฐานสอง และปัจจุบันพัฒนามาใช้คำสั่งที่เป็นข้อความภาษาอังกฤษ

ภาษาคอมพิวเตอร์
มนุษย์ใช้ภาษาในการสื่อสารมาตั้งแต่สมัยโบราณ การใช้ภาษาเป็นเรื่องที่มนุษย์พยายามถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกต่าง ๆ เพื่อการโต้ตอบและสื่อความหมาย ภาษาที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน ต่างเรียกว่า “ภาษาธรรมชาติ” (Natural Language) เพราะมีการศึกษา ได้ยิน ได้ฟัง กันมาตั้งแต่เกิดการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทำงานตามที่ต้องการ จำเป็นต้องมีการกำหนดภาษา สำหรับใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์จะเป็น ”ภาษาประดิษฐ์” (Artificial Language) ที่มนุษย์คิดสร้างมาเอง เป็นภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวและจำกัด คืออยู่ในกรอบให้ใช้คำและไวยากรณ์ที่กำหนดและมีการตีความหมายที่ชัดเจน จึงจัดภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่มีรูปแบบเป็นทางการ (Formal Language) ต่างกับภาษาธรรมชาติที่มีขอบเขตกว้างมาก ไม่มีรูปแบบตายตัวที่แน่นอน  กฎเกณฑ์ของภาษาจะขึ้นกับหลักไวยากรณ์และการยอมรับของกลุ่มผู้ใช้นั้น ๆ
ภาษาคอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) และภาษาระดับสูง (High Level Language)

 ภาษาเครื่อง (Machine Language)
การเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานในยุคแรก ๆ จะต้องเขียนด้วยภาษาซึ่งเป็นที่ยอมรับของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “ภาษาเครื่อง” ภาษานี้ประกอบด้วยตัวเลขล้วน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทันที ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้ ต้องสามารถจำรหัสแทนคำสั่งต่าง ๆ ได้ และในการคำนวณต้องสามารถจำได้ว่าจำนวนต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณนั้นถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งใด ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมจึงมีมาก นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบมีภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออก ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะจะต้องเขียนโปรแกรมใหม่ทั้งหมด

 ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)
เนื่องจากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความยุ่งยากในการเขียนดังได้กล่าวมาแล้ว จึงไม่มีผู้นิยมและมีการใช้น้อย ดังนั้นได้มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงาน การใช้และการตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่าง ๆ ซึ่งเป็นค่าของตัวแปรนั้น ๆ การใช้สัญลักษณ์ช่วยให้การเขียนโปรแกรมนี้เรียกว่า “ภาษาระดับต่ำ”ภาษาระดับต่าเป็นภาษาที่มีความหมายใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมากบางครั้งจึงเรียกภาษานี้ว่า  “ภาษาอิงเครื่อง” (Machine – Oriented Language) ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำ  ได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาที่ใช้คำในอักษรภาษาอังกฤษเป็นคำสั่งให้เครื่องทำงาน เช่น ADD หมายถึง บวก SUB หมายถึง ลบ เป็นต้น การใช้คำเหล่านี้ช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นกว่าการใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นตัวเลขล้วน ดังตารางแสดงตัวอย่างของภาษาระดับต่ำและภาษาเครื่องที่สั่งให้มีการบวกจำนวนที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำ
ตารางที่ 5.1 แสดงความสัมพันธ์ของคำสั่งในภาษาระดับต่ำและภาษาเครื่อง
ภาษาระดับต่ำ    ภาษาเครื่อง    รหัสเลขฐานสิบหก
MOV   AL,05    10110000     00000101    B0     05
MOV   BL,08    10110011     00001000    B3     08
ADD   AL,BL    00000000     11011000    00     D8
MOV   CL,AL    10001000     11000001    88     C1
จากตารางบรรทัดแรก 10110000 00000101 เป็นคำสั่งให้นำจำนวน 5 (หรือเขียนในรูปของเลขฐานสองเป็น 00000101) ไปเก็บในรีจิสเตอร์ชื่อ AL โดยส่วนแรก 10110000 คือรหัสคำสั่ง MOV ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายข้อมูลจำนวนมาเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ AL
บรรทัดที่สอง 10110011 00001000 เป็นคำสั่งให้นำจำนวน 8 (หรือเขียนในรูปของเลขฐานสองเป็น 00001000) ไปเก็บในรีจิสเตอร์ชื่อ BL โดยส่วนแรก 10110011 คือรหัสคำสั่ง MOV ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายข้อมูลจำนวนมาเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ BL
บรรทัดที่สาม เป็นคำสั่งการบวกระหว่างรีจิสเตอร์ AL กับ BL หรือนำ 5 บวก 8 ผลลัพธ์เก็บในรีจิสเตอร์ AL
บรรทัดที่สี่ เป็นการนำผลลัพธ์จากรีจิสเตอร์ชื่อ AL ไปเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ชื่อ CL
การใช้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีนั้น  เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ทันที จำเป็นต้องมีการแปลโปรแกรมในการแปลที่มีชื่อว่า “แอสเซมเบลอร์” (Assembler) ซึ่งแตกต่างไปตามเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละชนิด ดังนั้นแอสเซมเบลอร์ของเครื่องชนิดหนึ่งจะไม่สามารถใช้แปลโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีของเครื่องชนิดอื่น ๆ ได้ภาษาแอสเซมบลีนี้ยังคงใช้ยาก เพราะผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างละเอียด ต้องรู้ว่าจำนวนที่จะนำมาคำนวณนั้นอยู่ ณ ตำแหน่งใดในหน่วยความจำในทำนองเดียวกับการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีจึงมีผู้ใช้น้อย และมักจะใช้ในกรณีที่ต้องการควบคุมการทำงานภายในของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์

  ภาษาแอสเซมบลี(Assembly Language) 
-เรียกอีกอย่างว่า “ภาษาสัญลักษณ์” เป็นภาษาระดับต่ำ
-ใช้รหัสเป็นคำแทนคำสั่งภาษาเครื่อง เป็นคำสั่งสั้น ๆ ที่จดจำได้ง่าย เรียกว่า นิวมอนิกโค้ด(mnemonic code) เช่น
*A แทน การบวก(Add)
*C แทน การเปรียบเทียบ(Compare)
*MP แทน การคูณ(Multiply)
*STO แทน การเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ(Store)
-โปรแกรมภาษาแอสเซมบลี ต้องทำการแปลด้วยโปรแกรมแปลภาษาที่เรียกว่า แอสเซมเบลอ(Assembler) ซึ่งจะแปลโปรแกรมต้นฉบับ(Source code)ที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี ให้เป็น ภาษาเครื่อง 

ภาษาธรรมชาติ(Natural Language) 
-ภาษาธรรมชาติไม่สนใจรูปแบบคำสั่งหรือลำดับที่เคร่งครัด
-ผู้ใช้สามารถพิมพ์สิ่งที่ต้องการในคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคที่ผู้ใช้เข้าใจ คอมพิวเตอร์จะพยายามแปลคำหรือประโยคเพื่อทำตามคำสั่ง
-ภาษาธรรมชาตินิยมนำมาประยุกต์งานด้าน ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert System) 

  ภาษาระดับสูง (High Level Language)
ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมกล่าวคือลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา อาทิเช่น ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก(BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาซี (C) และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง คำสั่งหนึ่งคำสั่งในภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องหลายคำสั่ง
ภาษาระดับสูงที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่

1 ภาษาฟอร์แทรน (FORmula TRANstation : FORTRAN)
จัดเป็นภาษาระดับสูงที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับการคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรก ราว พ.ศ. 2497 โดยบริษัท ไอบีเอ็ม เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการคำนวณ เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และงานวิจัยต่าง ๆ เนื่องจากแนวคิดในการเขียนโปรแกรมในระยะหลังนี้เปลี่ยนมานิยมการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างมากขึ้น ลักษณะของคำสั่งภาษาฟอร์แทรนแบบเดิมไม่เอื้ออำนวยที่จะให้เขียนได้ จึงมีการปรับปรุงโครงสร้างของภาษาฟอร์แทรนให้สามารถเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างขึ้นมาได้ในปี พ.ศ. 2509 เรียกว่า FORTRAN 66 และในปี พ.ศ. 2520 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute หรือ ANSI) ได้ปรับปรุง FORTRAN 66 และยอมรับให้เป็นภาษาฟอร์แทรนที่เป็นมาตรฐาน เรียกว่า FORTRAN 77 ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวแปลภาษานี้

2  ภาษาโคบอล (Common Business Oriented Language : COBOL)
เป็นภาษาที่พัฒนาขึ้นในราว พ.ศ. 2502  ต่อมาได้รับการปรับปรุงจากคณะกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของหน่วยงานธุรกิจและรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา เป็นภาษาโคบอลมาตรฐานในปี พ.ศ. 2517 เป็นภาษาที่เหมาะสมสำหรับงานด้านธุรกิจ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ส่วนมากมีโปรแกรมแปลภาษาโคบอล
3)  ภาษาเบสิก (Beginner’s All – purpose Symbolic Instruction Code : BASIC)
เป็นภาษาที่ได้รับการคิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วิทยาลัยดาร์ทมัธ (Dartmouth College) และเผยแพร่เป็นทางการในปี พ.ศ. 2508ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สอนเพื่อใช้สอนเขียนโปรแกรมแทนภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาอื่น เช่น ภาษาฟอร์แทรน ซึ่งมีขนาดใหญ่และต้องใช้หน่วยความจำสูงในการทำงาน ซึ่งไม่เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้น ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่มีขนาดเล็ก เป็นตัวแปลภาษาชนิดที่เรียกว่าอินเทอร์พรีเตอร์
นอกจากนี้    ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเขียน    ซึ่งผู้เขียนจะสามารถนำไปประยุกต์กับการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทุกสาขาวิชา    ผู้ที่เพิ่งฝึกเขียนโปรแกรมใหม่ ๆ หรือผู้ที่ไม่ใช่นักเขียนโปรแกรมมืออาชีพ แต่เป็นเพียงวิศวกรหรือนักวิจัย จะสามารถหัดเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกได้ในเวลาไม่นานนัก ปกติภาษาเบสิกส่วนใหญ่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์

 4.ภาษาปาสคาล (Pascal)
ตั้งชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขโดยใช้เฟืองหมุน ภาษาปาสคาลคิดขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยนิคลอส เวียซ (Niklaus Wirth) ศาสตราจารย์วิชาคอมพิวเตอร์ชาวสวิต ภาษาปาสคาลได้รับการออกแบบให้ใช้ง่ายและมีโครงสร้างที่ดี จึงเหมาะกับการใช้สอนหลักการเขียนโปรแกรม ปัจจุบันภาษาปาสคาลยังคงได้รับความนิยมใช้ในการเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

5 ภาษาซีและซีพลัสพลัส (C และ C++)
ภาษาซีเป็นภาษาที่พัฒนาจากห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัทเอทีแอนด์ทีในปี พ.ศ. 2515 หลังจากที่พัฒนาขึ้นได้ไม่นาน ภาษาซีก็กลายเป็นภาษาที่นิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมมาก และมีใช้งานในเครื่องทุกระดับ ทั้งนี้เนื่องจากภาษาซีได้รวมเอาข้อมูลของภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำเข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ที่เข้าใจง่าย ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายเช่นเดียวกับภาษาระดับสูงทั่วไป แต่ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานดีกว่ามาก เนื่องจากมีการทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ สามารถทำงานได้ในระดับที่เป็นการควบคุมฮาร์ดแวร์ได้มากกว่าภาษาระดับสูงอื่น ๆ ดังจะเห็นว่าภาษาซีเป็นภาษาที่สามารถพัฒนาระบบปฏิบัติการได้ เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
นอกจากนี้เมื่อแนวคิดของการเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming : OOP) ได้เข้ามามีบทบาทในวงการคอมพิวเตอร์มากขึ้น ภาษาซีก็ยังได้รับการพัฒนาโดยประยุกต์ใช้กับการเขียนโปรแกรมดังกล่าว เกิดเป็นภาษาใหม่ชื่อว่า “ภาษาซีพลัสพลัส” (C++)

6 ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic)
เป็นภาษาที่พัฒนาต่อมาจากภาษาเบสิก  ใช้ไวยากรณ์บางส่วนของภาษาเบสิกในการเขียนโปรแกรม   แต่มีแนวคิดและวิธีการพัฒนาโปรแกรมที่แตกต่างจากภาษาเบสิกโดยสิ้นเชิง รวมทั้งการใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำก็แตกต่างกันมาก ทั้งนี้เนื่องจากภาษาวิชวลเบสิกใช้แนวคิดที่ต่างออกไป
7)  การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ (Visual Programming)
ภาษานี้พัฒนาขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ออกแบบเพื่อเขียนโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการแบบจียูไอ เช่น ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ มีการติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้รูปภาพ การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายกว่าการเขียนโปรแกรมแบบเก่ามาก
8 ภาษาจาวา (Java)
พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมสูงมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเขียนโปรแกรมและใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทและระบบปฏิบัติการทุกรูปแบบ ในช่วงแรกที่เริ่มมีการนำภาษาจาวามาใช้งานจะเป็นการใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นภาษาที่เน้นการทำงานบนเว็บ แต่ปัจจุบันสามารถสามารถนำมาประยุกต์สร้างโปรแกรมใช้งานทั่วไปได้
นอกจากนี้ เมื่อเทคโนโลยีของการสื่อสารก้าวหน้าขึ้น จนกระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ปาล์มท็อป หรือ แม้แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตและใช้งานระบบเวิลด์ไวด์เว็บได้ ภาษาจาวาก็สามารถสร้างส่วนที่เรียกว่า “แอปเพล็ต” (Applet) ให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กล่าวข้างต้น เรียกใช้งานจากเครื่องที่เป็นแม่ข่าย (Server) ได้
9 ภาษาเดลฟาย (Delphi)
เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมภาษาหนึ่ง แนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาเดลฟายเหมือนกับแนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาวิชวลเบสิก คือเป็นการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพ แต่ภาษาพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะเป็นภาษาปาสคาล  ในการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพนี้มีคอมโพเนนต์ (Component) ที่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบเพื่อสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เป็นแบบกราฟิก ทำให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนามีความน่าสนใจและใช้งานง่ายขึ้น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเดลฟายจึงเป็นที่นิยมในการนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมใช้งานมาก รวมทั้งภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะแก่การนำมาใช้สอนเขียนโปรแกรม
5.10.4  การทำงานของโปรแกรมแปลภาษา
ในการประมวลผลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาระดับสูง จำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการแปลโปรแกรมภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

1คอมไพเลอร์ (Compiler)
เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงที่เรียกกันว่า “โปรแกรมต้นฉบับ” (Source Program) ให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง (Object Program) ถ้ามีข้อผิดพลาดเครื่องจะพิมพ์รหัสหรือข้อผิดพลาดออกมาด้วย ภายหลังการแปลถ้าไม่มีข้อผิดพลาด ผู้ใช้สามารถสั่งประมวลผลโปรแกรม และสามารถเก็บโปรแกรมที่แปลภาษาเครื่องไว้ใช้งานต่อไปได้อีก โดยไม่ต้องทำการแปลโปรแกรมซ้ำอีก ตัวอย่างโปรแกรมแปลภาษาแบบนี้ ได้แก่ โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรน โปรแกรมแปลภาษาโคบอล โปรแกรมแปลภาษาปาสคาล โปรแกรมแปลภาษาซี

2อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่องเช่นเดียวกับคอมไพเลอร์ ความแตกต่างจะอยู่ที่อินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลและประมวลผลทีละคำสั่ง ข้อเสียของอินเทอร์พรีเตอร์ก็คือถ้านำโปรแกรมนั้นมาใช้งานอีกจะต้องทำการแปลโปรแกรมทุกครั้ง ภาษาบางภาษามีโปรแกรมแปลทั้งสองลักษณะ เช่น ภาษาเบสิก เป็นต้น

ระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์
ตามปกติเมื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งาน มักจะได้ระบบปฏิบัติการมาพร้อมกับเครื่อง ซึ่งสามารถจัดการให้ผู้ใช้เรียกใช้หรือติดต่อกับเครื่องได้ทันที โดยรูปแบบของการติดต่อกับเครื่องจะขึ้นกับระบบปฏิบัติกี่ที่ติดตั้งและซอฟต์แวร์เสริมสภาพแวดล้อมการใช้งาน ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบติดต่อระหว่างเครื่องกับผู้ใช้ให้ใช้ง่ายและทำงานได้รวดเร็วขึ้น
ระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกันได้แก่ กลุ่มพิมพ์คำสั่งเข้าไปทีละบรรทัด กลุ่มเลือกรายการเมนู กลุ่มเลือกสัญรูป

  กลุ่มพิมพ์คำสั่งเข้าทีละบรรทัด
ระบบการติดต่อแบบนี้เป็นระบบติดต่อแบบแรกที่พัฒนามาพร้อม ๆ กับคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะมีการพัฒนาระบบอื่น ๆ เป็นการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่งไม่เอื้อต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์เท่าใดนัก เพราะผู้ใช้จะต้องเรียนรู้หรือจดจำคำสั่งต่าง ๆ ไว้ให้ได้เสียก่อน เช่น การเรียกใช้คำสั่งของดอส ระบบนี้ผู้ใช้จะมีความสับสนในระยะแรก เพราะจะต้องเรียนรู้คำสั่งว่าใช้งานอะไร และใช้ได้อย่างไร ซึ่งการป้อนหรือพิมพ์คำสั่งเข้าไปจะต้องพิมพ์ไม่ผิดเลย ระบบติดต่อนี้จะใช้ยากและเสียเวลาบ้างถ้าจำคำสั่งไม่ได้ แต่ถ้าใช้ไปนาน ๆ จนคุ้นเคย อาจมีข้อดีที่สามารถเรียกโปรแกรมมาทำงานได้รวดเร็วที่สุดใช้พื้นที่หน่วยความจำน้อยเพราะลดการแสดงผลในส่วนของกราฟิก

 กลุ่มเลือกรายการเมนู
ในระบบนี้จะแสดงรายการย่อยของคำสั่งต่าง ๆ  ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นข้อความตัวอักษร  ไม่เป็นรูปกราฟิก  ผู้ใช้เพียงแต่เลื่อนตัวชี้  แถบสี   หรือสัญลักษณ์ลูกศรขึ้นลง รูปสัญลักษณ์อื่น ๆ ไปยังรายการที่ต้องการ แล้วกดปุ่มเลือกรายการนั้น หรืออาจใช้เมาส์เลือกรายการใช้เช่นกัน ระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้จะใช้งานได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องจดจำคำสั่งมาก เพราะจะมีรายการคำสั่งแสดงไว้ให้เลือก

 กลุ่มเลือกสัญรูป
มีลักษณะคล้ายระบบติดต่อกลุ่มที่สองที่เป็นรายการเมนูให้เลือก เพียงแต่ว่ารายการของกลุ่มที่สาม จะเป็นรูปภาพหรือสัญรูปสำหรับเลือก โดยมี อุปกรณ์เมาส์เป็นตัวเลื่อน ตัวชี้ และเลือกรายการ ในบางกรณีก็อาจเป็นรายการเมนูย่อยของข้อมูลในระบบ การติดต่อระหว่างเครื่องกับผู้ใช้ในลักษณะนี้ได้รับความสนใจมาก เพราะใช้งานง่าย ไม่ต้องเรียนรู้หรือจดจำคำสั่งที่ซับซ้อนระบบติดต่อใช้งานในกลุ่มที่สามที่มีผู้นิยมหรือกล่าวถึงกันมากคือ ระบบติดต่อผู้ใช้เชิงกราฟิก เรียกว่า จียูไอ นับเป็นระบบที่แสดงรูปกราฟิกแบบบิตแมพ (Bit Map) ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นวินโดวส์ ดอส โอเอสทู หรือยูนิกซ์ ต่างก็มีซอฟต์แวร์มาเสริมสภาพการใช้งานเป็นแบบจียูไอกันทั้งหมด
ซอฟต์แวร์ประเภทจียูไอ ส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมที่ซับซ้อนและมีขีดความสามารถสูง ดังนั้นการติดต่อหรือการเรียนรู้จึงยากกว่าปกติ แต่หลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะใช้งานได้ง่าย และถ้านำไปทำงานในเครื่องความเร็วสูง ก็จะช่วยประหยัดเวลา และทำให้โปรแกรมต่าง ๆ ใช้งานง่ายขึ้น ซอฟต์แวร์ประเภทจียูไอเป็นซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่จึงใช้พื้นที่หน่วยความจำมาก ต้องใช้ตัวประมวลผลที่มีขีดความสามารถสูง จึงจะทำงานได้ผล
ลักษณะเด่นของระบบติดต่อกุยเมื่อใช้กับซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการหลายภารกิจ คือ สามารถทำหลายงานได้ในเวลาเดียวกัน โดยงานหนึ่ง ๆ จะปรากฏในช่องหน้าต่างที่เปิดขึ้นมาบนจอภาพ สามารถสลับระหว่างช่องหน้าต่างไปมา เปลี่ยนขนาดและย้ายตำแหน่งของช่องหน้าต่าง และการโอนย้ายข้อมูลระหว่างช่องหน้าต่างหรือระหว่างโปรแกรมได้ ในส่วนของผู้ที่เป็นนักเขียนโปรแกรมก็จะได้ประโยชน์ สามารถเขียนโปรแกรมประยุกต์สร้างเป็นเมนูภาพ สัญรูป และช่องหน้าต่างแสดงข้อมูล
ระบบติดต่อกุยที่สมบูรณ์แบบ ควรมีองค์ประกอบดังนี้
1)       มีระบบที่ใช้รูปกราฟิกและสัญรูป
2)       มีการแสดงรายการบนจอที่สวยงาม น่าดู และให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินกับการใช้งาน
3)       สามารถพิมพ์ผลลัพธ์ที่ปรากฏบนจอได้เหมือนกับที่เห็น
4)       สนับสนุนการใช้เครื่องพิมพ์หลายรุ่น
5)     แสดงองค์ประกอบของระบบไม่ว่าจะเป็นช่องหน้าต่างหรือรายการเมนูเป็นมาตรฐานเดียวกัน จนทำให้แยกไม่ออกว่ากำลังทำงานอยู่เครื่องต่างระบบ หรือทำงานต่าง          โปรแกรม เป็นต้น
6)       มีลักษณะการใช้งานแบบเลือกรายการ เลือกชิ้นวัตถุที่สามารถชี้และเลือกด้วยเมาส์
7)       มีระบบที่ติดตั้งได้ง่ายและสามารถปรับเปลี่ยนระบบภายในได้ง่าย
8)       สามารถทำงานเข้ากันได้กับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์รุ่นเก่า
9)       สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโปรแกรม



 ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ 

   ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN : FORmular TRANslator) 

-ใช้สำหรับงานด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ วิศวกรรมศาสตร์
-พัฒนาขึ้นโดย บริษัท ไอบีเอ็ม(IBM) 


  ภาษาโคบอล (COBOL : COmmon Business Oriented Language) 
-ใช้สำหรับงานด้านธุรกิจ เช่น การจัดเก็บ เรียกใช้และประมวลผลด้านบัญชี , คลังสินค้า , การรับและจ่ายเงิน เป็นต้น
-พัฒนาโดย สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์หลายบริษัท 


  ภาษาเบสิก (BASIC : Beginner’s All-purpose Symbolic Instruction Code) 
-ใช้งานได้หลายด้าน ทั้งด้านธุรกิจและงานอื่นๆ
-พัฒนาโดย สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา(American National Standard Institute : ANSI) 


  ภาษาปาสคาล (PASCAL : ชื่อของ Blaise Pascal) 
-ใช้ในงานด้านการคำนวณทั่วไป ทั้งงานด้านวิทยาศาสตร์ ธุรกิจ หรือวิศวกรรม
-พัฒนาโดย นายนิคลอส เวิร์ธ(Niklaus Wirth) แห่ง สถาบันเทคโนโลยีของรัฐ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ 


 ภาษาซี (C) 
-ใช้สำหรับงานด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ วิศวกรรมศาสตร์
-พัฒนาโดย นายเดนนิส ริชชี่(Dennis Ritchie) สนับสนุนโดยบริษัท เอทีแอนด์ที (AT&T) 


   ภาษาเอดา (ADA : ชื่อของ Augusta Ada ) 
-ใช้สำหรับงานด้านทหาร
-สนับสนุนโดยกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกา 


  ภาษาอัลกอ (ALGOL : ALGOrithmic Language) 
-ใช้สำหรับงานด้านวิทยาศาสตร์
-ถูกพัฒนาต่อให้เป็นภาษา PL/1 และ PASCAL 


   ภาษาพีแอลวัน (PL/1) 
-ใช้สำหรับงานทั่วไป ทั้งงานธุรกิจและงานการคำนวณ
-ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัท ไอบีเอ็ม 


  ภาษาโพรล็อก(PLOLOG : PROgramming LOGic) 
-นิยมใช้ในงานด้านปัญญาประดิษฐ์(AI : Artificial Intelligent ) 

  ภาษาลิป (LISP : LISt Processing) 
-นิยมใช้ในงานด้านปัญญาประดิษฐ์(AI : Artificial Intelligent ) 

  ภาษาโลโก้ (LOGO) 
-นิยมใช้ในโรงเรียน เพื่อสอนทักษะการแก้ปัญหาให้กับนักเรียน 

  ภาษาอาร์พีจี (RPG : Report Program Generato 
-ใช้สำหรับงานธุรกิจ 




 ตัวแปลภาษา(Translator Program) 

     ตัวแปลภาษา หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลโปรแกรมต้นฉบับ(Source code) ที่เขียนขึ้น ให้เป็นภาษาเครื่องที่เป็นเลขฐานสอง เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ 

 ประเภทของตัวแปลภาษา 

      ประเภทของตัวแปลภาษาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 

      1.)Assembler 
-แปลเฉพาะภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องเท่านั้น 

      2.)Compiler 
-แปลโปรแกรมต้นฉบับทั้งโปรแกรม ที่เขียนจากภาษาระดับสูง ให้เป็นออบเจ็กต์(Object Code)
-Object code สามารถนำไปใช้ได้ทันที
-ระหว่างการแปล หากพบข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเขียนคำสั่ง จะแสดงข้อผิดพลาดและหยุดการแปล
-เมื่อเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการแปล ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องแก้ไขและแปลใหม่อีกครั้ง
-ตัวอย่างภาษาที่ใช้ compiler ได้แก่ FORTRAN , PASCAL , C , C++ เป็นต้น 


        ขั้นตอนการทำงานของคอมไพเลอร์





     ข้อดี 
-ทำงานได้เร็ว
-ตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมซอร์ดโค้ดในขั้นตอนของการคอมไพล์

    ข้อเสีย 
-ต้องนำโปรแกรมซอร์ดโค้ดมาแปลใหม่เมื่อเปลี่ยนระบบปฏิบัติการ เนื่องจากคอมไพเลอร์เป็นตัวแปลภาษาที่ขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์ม (Platform Specific) 

   3.)Interpreter 
-แปลโปรแกรมต้นฉบับทั้งโปรแกรม ที่เขียนจากภาษาระดับสูง ให้เป็นภาษาเครื่อง
-แปล Source code ทีละคำสั่ง ให้เป็น Object code
-ถ้าพบข้อผิดพลาดจะหยุดทำงาน และให้ดำเนินการแก้ไขคำสั่งที่ผิด จึงเริ่มประมวลผลใหม่
-ตัวอย่างภาษาที่ใช้ Interpreter ได้แก่ ภาษา BASIC เป็นต้น 

     
ขั้นตอนการทำงานของอินเตอร์พรีตเตอร์



      ข้อดี 
-อินเตอร์พรีตเตอร์ถูกสร้างขึ้นได้ง่ายกว่าและมีขนาดเล็ก
-ภาษาที่ใช้อินเตอร์พรีตเตอร์สามารถทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ เนื่องจากขั้นตอนการแปลภาษาทำในช่วงการรันโปรแกรม 

    ข้อเสีย 
-ทำงานได้ช้ากว่าคอมไพเลอร์ 


     การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ 

- การโปรแกรมเชิงวัตถุ(Object Oriented Programming : OOP) คือ กระบวนการที่โปรแกรมถูกจัดการให้อยู่ในรูปของวัตถุ(Objects) ในแต่ละวัตถุประกอบด้วย คุณลักษณะ(Attribute) และเมธอด(method) ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่เขียนขึ้นเพื่อจัดการข้อมูลของวัตถุนั้นๆ
- คุณสมบัติที่สำคัญของ OOP คือ การซ่อนข้อมูล (Encapsulation) , การสืบทอด(Inheritance) และการพ้องรูป(Polymorphism)
- ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียน OOP ได้แก่ ภาษาจาวา(JAVA) , ภาษา C++ , ภาษา Smalltalk เป็นต้น 







อ้างอิง  http://www.chakkham.ac.th/krusuriya/index.php?option=com_content&view=article&id=97&Itemid=114
             http://www4.csc.ku.ac.th/~b5340202526/lesson7.html 

     

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

   อุปกรณ์คอมพิวเตอร์



 - จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube)

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์



 - จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display)

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์


-เคส (case)

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์    



                                            -พาวเวอร์ซัพพลาย Power supply







                     อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 


-คีย์บอร์ด (Keyboard)


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์


                                                                                                                                      -เมาส์ (Mouse)


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์


-เมนบอร์ด (Main board)

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

-ซีพียู (CPU)

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์



-การ์ดแสดงผล (Display Card)


   อุปกรณ์คอมพิวเตอร์



***แรม (RAM)



อุปกรณ์คอมพิวเตอร์  SDRAM


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ DDR-RAM 



อุปกรณ์คอมพิวเตอร์  RDRAM




***ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)



 - IDE (Integrated Drive Electronics) 


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Harddisk แบบ IDE


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ IDE Cable




 - SCSI (Small Computer System Interface)



อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Harddisk แบบ SCSI


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ SCSI controller




  - Serial ATA (Advanced Technology Attachment)


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์  Harddisk แบบ Serial ATA



อุปกรณ์คอมพิวเตอร์  Serial ATA Cable




***CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW



อุปกรณ์คอมพิวเตอร์  CD-ROM





***ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์Floppy Disk Drive






 อ้างอิง:  http://computer.kapook.com/equpiment.php





เคส (case)


วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559

ระบบปฏิบัติการ MAC OS

ระบบปฏิบัติการ MAC Os

เป็นระบบ ปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการทำงานแบบ GUI ในปี ค.ศ. 1984 ของบริษัท Apple ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นระบบปฏิบัติการ Mac OS โดยเวอร์ชันล่าสุดมีชื่อเรียกว่า Mac OS X เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยบริษัท Apple และมีความสามารถในการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) เหมาะกับงานในด้านเดสก์ทอปพับลิชชิ่ง (Desktop Publishing)

ตัวอย่างหน้าต่างระบบปฏิบัติการ MAC



รุ่นของ MAC OS X

Mac OS X 10.0 Cheetah (รุ่นแรก)

ในปี 2001 ก็ได้ปรากฏ Mac OS X เวอร์ชันเต็มตัวแรก ซึ่งก็คือ Mac OS X 10.0 โดยใช้ชื่อว่า Cheetah โดยในเวอร์ชันแรกนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายมากนักสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
Mac OS X 10.1, 10.2 และ 10.3


ในปลายปี 2001 ทาง Apple ที่ได้อัพเกรดเป็น Mac OS X 10.1 (Mac OS X Puma) และในเดือนสิงหาคมปี 2002 ได้อัพเกรดอีกครั้งเป็น Mac OS X 10.2 (Mac OS X Jaguar) โดยเพิ่มคณสมบัติเด่นๆ เช่น โปรแกรม iChat สนทนาผ่านระบบออนไลน์ รองรับการเชื่อมต่อกับเครือข่ายของไมโครซอฟท์ ฯลฯ
ในปี 2003 ก็ได้เสนอ Mac OS X 10.3 (Mac OS X Panther ) ที่มาพร้อมคุณสมบัติใหม่ๆ เช่น Expose สลับการทำงานระหว่างโปรแกรม Fast User Switching เปลี่ยนผู้ใช้โดยไม่จำเป็นต้อง Log out ปรับปรุง iChat เป็น iChat AV ที่สามารถสื่อสารแบบมองเห็นหน้าอีกฝ่ายหนึ่งได้ นอกจากนั้นยังมีการเปิดตัวโปรแกรมท่องเว็บอย่าง Safari อีกด้วย
Mac OS X Tiger


ปี 2005 เปิดตัว Mac OS X 10.4 (Mac OS X Tiger) โดยได้แนะนำคุณสมบัติใหม่ เช่น Automator รวมคำสั่งเพื่อทำงานอัตโนมัติได้ Voice Over ที่ออกเสียงคำสั่งต่างๆ Spotlight ค้นหาไฟล์ รวมถึงข้อมูลภายในไฟล์ได้ Dashboard เรียกใช้งานโปรแกรมที่ใช้เป็นประจำจากหน้าจอ Desktop นำเสนอ QuickTime รุ่นใหม่ ปรับปรุงโปรแกรมท่องเว็บเป็น Safari 2.0 เป็นต้น

Mac OS X Leopard


ปี 2007 ทาง Apple ได้เปิดตัว Mac OS X 10.5 (Mac OS X Leopard) ซึ่งถือว่าเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่เพราะได้เพิ่มและปรับปรุงคุณสมบัติใหม่ๆ มากมาย เช่น Cover Flow มุมมองแสดงข้อมูลในสไตล์ที่สวยงาม Quick Look แสดงตัวอย่างภายในไฟล์ Stack ใช้เก็บโฟลเดอร์ที่ใช้งานบ่อๆ Time Machine ใช้แบ็คอัพข้อมูล สามารถกลับไปกู้ข้อมูลเก่าๆได้ง่าย Space ที่สามารรถแบ่งหน้าจอเหมือนว่าได้ต่อหลายจอภาพและอื่นๆกว่า 300 รายการ

Mac OS X Snow Leopard

ปี 2009 ทาง Apple ก็ได้เปิดตัว Mac OS X รุ่น 10.6 หรือ Mac OS X Snow Leopard โดยมีการปรับปรุงในหลายๆด้าน เช่น รองรับระบบ 64 บิต พัฒนาให้รองรับระบบ Multicore (ซีพียูแบบหลายแกน) ตลอดจนนำเสนอโปรแกรม QuickTime X ให้สามารถเล่นไฟล์มัลติมีเดียทั้งบนเครื่องและออนไลน์ได้ดียิ่งขึ้น แนะนำโปรแกรมท่องเว็บรุ่นใหม่อย่าง Safari 4 เป็นต้น

Mac OS X Lion



Mac OS X Lion เปิดตัวกลางปี 2011 มีการเพิ่มเติมความสามารถใหม่ อาทิ การพัฒนาระบบ Multi-Touch ปรับปรุงโปรแกรม Mail, การเปิดแอพแบบ Full Screen, Mission Control รวมการสั่งงานบนหน้าจอ, การเชื่อมต่อไร้สายผ่าน AirDrop, Mac Apps Stores ศูนย์รวมแอพพลิเคชัน , ระบบ Launchpad สำหรับจัดการแอพบนเครื่อง และการจัดเก็บ/กู้คืนไฟล์ด้วย AutoSave และ Versions

Mac OS X Mountain Lion


เป็น Mac OS X รุ่นล่าสุด เปิดตัวกลางปี 2012 โดยความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน คือ ได้เพิ่มคุณสมบัติซึ่งมีรูปแบบการใช้งานที่บน iPad มากยิ่งขึ้น ปรับปรุงให้สามารถใช้งานร่วมกับ iPad และ iPhone ได้ง่ายกว่าเดิมอีกด้วย เช่น สามารถส่งข้อความระหว่างอุปกรณ์ของ Apple ผ่านทาง Message มีระบบการเตือนเมื่อถึงกำหนดด้วย Reminders มี Notification Center ที่สามารถเก็บข้อมูลสำคัญๆ ไว้ในที่แห่งเดียว การทำงานร่วมกับ Facebook และ Twitter ได้ทันทีบนหลายๆ โปรแกรมพร้อมปรับปรุงให้สามารถผนวกข้อมูลกับ iCloud ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

Mac OS X 10.9 (Mavericks)


เปิดตัวในปี 2013 เป็นรุ่นล่าสุดแต่ยังไม่ได้เปิดให้ใช้งานอย่างเป็นทางการ (ขณะเขียนบทความ สิงหาคม 2556) เป็นการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของรุ่นก่อน ดูว่าแมครุ่นไหนที่อัพเดทเป็น Mavericks ได้


อ้างอิง: HTTPS://BEERKUNG.WORDPRESS.COM/