วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด



ระบบปฏิบัติการios

ระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) มีชื่อเดิมว่า iPhone OS เริ่มต้นด้วยการเปิดตัวของ iPhone เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2550 ระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟน (Smartphone) ของแอปเปิล โดยเริ่มต้นพัฒนาสำหรับใช้ในโทรศัพท์ iPhone และได้พัฒนาต่อใช้สำหรับ iPot Touch และiPad โดยระบบปฏิบัติการนี้สามารถเชื่อมต่อไปยังแอ็ปสตอร์สำหรับการเข้าถึงถึงแอพพลิเคชั่น(Application) มากกว่า 300,000 ตัว ซึ่งมีการดาวน์โหลดไปมากกว่าห้าพันล้านครั้ง แอปเปิลได้มีการพัฒนาปรับปรุงสำหรับ iPhone, iPad และ iPod Touch ผ่านทางระบบ iTunes คือโปรแกรมฟรี สำหรับ Mac และ PC ใช้ดูหนังฟังเพลงบนคอมพิวเตอร์ รวมทั้งจัดระเบียบและ sync ทุกๆอย่าง และเป็นร้านขายความบันเทิงบนคอมพิวเตอร์, บน iPod touch, iPhone และ iPad ที่มีทุกๆอย่างสำหรับคุณ ในทุกที่และทุกเวลา พัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยให้มีความเป็นเลิศ ซึ่งนี้คือข้อได้เปรียบ เมื่อเทียบกับคู่แข่ง

https://beerkung.wordpress.com




ความแตกต่าง



เปรียบเทียบการใช้งานระหว่างระบบปฏิบัติการ IOS กับ ANDROID
iOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท Apple ซึ่งใช้ในผลิตภัณฑ์ที่บริษัท Apple เป็นผู้ผลิต อุปกรณ์สื่อสารภายใต้ยี่ห้อ Apple เช่น iPod, iPad และ iPhone

ข้อดี คือ มี Application หลากหลาย มีบริการ App Store และโปรแกรม iTunes สนับสนุนการจัดการอุปกรณ์มีเมนูการใช้งาน รวดเร็วและเข้าใจง่าย โปรแกรม Web Browser (Safari) ตอบสนองได้รวดเร็ว

ข้อเสีย คือ ผู้ใช้งานไม่สามารถออกแบบปรับเปลี่ยนหน้าจอได้ตามความต้องการ ไม่สามารถทํางานได้พร้อมๆ กันหลายอย่าง เช่น ไมสามารถฟังเพลงพร้อมเปิด Web Browser เพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตได้

Android เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท Google ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ OpenSource ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดหรือแบบฟรีนั่นเอง ดังนั้นผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่และ Tablet จึงนิยมนํา Android ไปใช้เป็น OS เช่น HTC, Samsung ในตระกลู Galaxy


https://beerkung.wordpress.com





ระบบปฏิบัติการ Dos
ดอส เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากในหมู่ผู้ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นผลงานของบริษัทไมโครซอฟต์คอร์เปอร์เรชั่น( Microsoft Corporation) ความเป็นมาของเอ็มเอสดอสเริ่มจากที่บริษัทไอบีเอ็ม(IBM) ได้สร้างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีชื่อว่าพีซี (PC:personal computer) และว่าจ้างบริษัทไมโครซอฟต์ให้ช่วยออกแบบระบบปฏิบัติการของเครื่องพีซีนี้ โดยใช้ชื่อว่าพีซีดอส (PC-DOS) เครื่องพีซีได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จนมีบริษัทอื่น ๆ สร้างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เลียนแบบเครื่องไอบีเอ็ม ซึ่งสามารถทำงานได้เหมือนกัน เป็นเครื่องแบบเดียวกัน เรามักนิยมเรียกเครื่องที่สร้างเลียนแบบนี้ว่า “ เครื่องคอมแพตติเบิ้ล” (compatible) ถ้าเครื่องคอมแพตติเบิ้ลต้องการทำงานให้เหมือนกับพีซีของไอบีเอ็มแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบปฏิบัติการที่เหมือนกัน แต่พีซีดอสเป็นลิขสิทธ์ของไอบีเอ็มที่ขายให้กับผู้ใช้เครื่องของไอบีเอ็มเท่านั้น ดังนั้นบริษัทไมโครซอฟต์จึงสร้างระบบปฏิบัติการใหม่ออกสู่ตลาด เพื่อให้เครื่องคอมแพตติเบิ้ลทั้งหลายได้ใช้ มีชื่อว่า เอ็มเอสดอส (MS-DOS) โดยไมโครซอฟต์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งเอ็มเอสดอสและพีซีดอสนี้ความจริงแล้วเหมือนกัน เป็นระบบปฏิบัติการตัวเดียวกัน เพียงแต่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้นเอง (ด้วยเหตุผลเชิงพาณิชย์ที่กล่าวมา) เอ็มเอสดอสหรือพีซีดอสได้ถูกพัฒนาออกมาหลายเวอร์ชั่น โดยมีขีดความสามารถมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในเวอร์ชั่นหลัง ๆ ไอบีเอ็มได้แยกพัฒนาพีซีดอสด้วยตนเอง ทำให้พีซีดอสและเอ็มเอสดอสในเวอร์ชั่นหลัง ๆ มีความแตกต่างกัน (ซึ่งมักจะต่างกันทางด้านความสามารถพิเศษต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่แล้วยังคงเหมือนกันอยู่)
http://www.med.cmu.ac.th/eiu/informatics/Literacy/computer/operating%20system/dos.htm


ความแตกต่าง
ความแตกต่างที่เห็นในชัดของชื่อไฟล์ในระบบ DOS กับ Windows คือ ความยาวของชื่อไฟล์ Windows สามารถตั้งชื่อให้ยาวได้มากถึง 255 ตัวอักษร ส่วนในระบบ DOS ชื่อและนามสกุลของไฟล์จะถูกจำกัดได้เพียงชื่อยาวไม่เกิน 8 ตัวอักษร นามสกุลยาวไม่เกิน 3 ตัวอักษร


ตัวอย่าง Readme.TXT (ชื่อไฟล์ Readme หลังจุดคือนามสกุล TXT)

http://www.med.cmu.ac.th/eiu/informatics/Literacy/computer/operating%20system/dos.htm






ระบบปฏิบัติการLinux


ลีนุกซ์ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่องพีซี และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (MultiUser-MultiTasking) มีระบบ X วินโดวส์ ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิก ที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ (มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์) และมาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP ที่ใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสารในอินเทอร์เนตมาให้ในตัว ลีนุกซ์มีความเข้ากันได้ (compatible)กับ มาตรฐาน POSIX ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเทอร์เฟสที่ระบบยูนิกซ์ส่วนใหญ่จะต้องมีและมีรูปแบบบางส่วนที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จากค่าย Berkeley และ System V โดยความหมายทางเทคนิคแล้วลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) ของระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านของการจัดสรรและบริหารโพรเซสงาน การจัดการไฟล์และอุปกรณ์ I/O ต่างๆ แต่ผู้ใช้ทั่วๆไปจะรู้จักลีนุกซ์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นและระบบอินเทอร์เฟสที่เขาเหล่านั้นเห็น (เช่น Shell หรือ X วินโดวส์) ถ้าคุณรันลีนุกซ์บนเครื่อง 386 หรือ 486 ของคุณ มันจะเปลี่ยนพีซีของคุณให้กลายเป็นยูนิกซ์เวอร์กสเตชันที่มีความสามารถสูง เคยมีผู้เทียบประสิทธิภาพระหว่างลีนุกซ์บนเครื่องเพนเทียม และเครื่องเวอร์กสเตชันของซันในระดับกลาง และได้ผลออกมาว่าให้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน และนอกจากแพลตฟอร์มอินเทลแล้ว ปัจจุบันลีนุกซ์ยังได้ทำการพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มอื่นๆด้วย เช่น DEC Alpha , Motorolla Power-PC , MIPS เมื่อคุณสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาบนแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งแล้ว คุณก็สามารถย้ายแอพพลิเคชันของคุณไปวิ่งบนแพลตฟอร์มอื่นได้ไม่ยาก ลีนุกซ์มีทีมพัฒนาโปรแกรมที่ต่อเนื่อง ไม่จำกัดจำนวนของอาสาสมัครผู้ร่วมงาน และส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางอินเทอร์เนต เพราะที่อยู่อาศัยจริงๆของแต่ละคนอาจจะอยู่ไกลคนละซีกโลกก็ได้ และมีแผนงานการพัฒนาในระยะยาว ทำให้เรามั่นใจได้ว่า ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีอนาคต และจะยังคงพัฒนาต่อไปได้ตราบนานเท่านาน

https://sites.google.com


ความแตกต่าง

การเปรียบเทียบ linux กับ windows

       ลีนุกซ์ (Linux) และวินโดว์ส (Windows) ต่างเป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)   ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งระดับผู้ใช้ทั่วไป จนถึงระดับองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก   ทว่าประสิทธิภาพของระบบทั้งสองนี้   กลับรับรู้กันอย่างคลุมเครือหรือไม่ก็เพียงเฉพาะระบบใดระบบหนึ่งเท่านั้น   ซึ่งเป็นการลำบากอย่างยิ่งสำหรับผู้กำลังตัดสินใจที่จะใช้ระบบใดระบบหนึ่ง   บนเครื่องของตน  
                ข้อเปรียบเทียบต่อไปนี้รวบรวมขึ้น   เพื่อนำเสนอข้อแตกต่างของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ทั้งสอระบบ                               ข้อเปรียบเทียบระหว่างระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux)   และ  วินโดว์ส ( Microsoft Windows )
     ลีนุกซ์(Linux)และวินโดว์ส(Windows) ต่างเป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC)ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งระดับผู้ใช้ทั่วไป จนถึงระดับองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก   ทว่าประสิทธิภาพของระบบทั้งสองนี้  กลับรับรู้กันอย่างคลุมเครือหรือไม่ก็เพียงเฉพาะระบบใดระบบหนึ่งเท่านั้น    ซึ่งเป็นการลำบากอย่างยิ่งสำหรับผู้กำลังตัดสินใจที่จะใช้ระบบใดระบบหนึ่งบนเครื่องของตน   ข้อเปรียบเทียบต่อไปนี้รวบรวมขึ้นเพื่อนำเสนอข้อแตกต่างของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ทั้งสองระบบ
จากข้อแตกต่างด้านราคาและประสิทธิภาพ ทำให้องค์ทั้งภาครัฐและเอกชนหันมาสนใจที่จะใช้  Linux เป็น "ระบบปฏิบัติการหลักในองค์กรของตนมากขึ้น   สังเกตจากระดับความนิยมลีนุกซ์ตามแผนภูมิด้านล่าง
                เห็นได้ว่าระบบ Windows ของMicrosoft นั้นครองตลาดมากที่สุดในปัจจุบัน   ส่วนLinux กำลังไล่ขึ้นมาติดๆโดนเฉพาะในภูมิภาคโลกที่สาม

                         สีน้ำเงิน     หมายถึง    ไมโครซอร์ฟ
                         สีแดง        หมายถึง    แมคอินทอช 
                         
สีเหลือง    หมายถึง    ลีนุกซ์

อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดคือตัวผู้ใช้นั้นต้องเลือกระบบที่เหมาะสมกับตนที่สุดนั่นเอง

สรุป  ข้อแตกต่างของระบบ Windows กับระบบ Linux

สำหรับโหมดไฟล์ของระบบ Windows กับระบบ Linux นั้นมีลักษณะที่แตกต่างกัน ส่วนมากระบบ Windows สามารถใช้งานได้ปกติไม่ค่อยได้ยุ่งเกี่ยวกับโหมดไฟล์เท่าไหร่ ระบบโหมดไฟล์จะเกี่ยวกับท่านที่ใช้ Hosting เป็นระบบ Linuxเป็นส่วนใหญ่ที่จะต้องเรียนรู้การเปลี่ยนโหมดไฟล์ (Change Mode) การเปลี่ยนโหมดไฟล์นั้นจะเกี่ยวกับการเก็บค่าคอนฟิกระบบตอนติดตั้ง โดยที่ระบบ CMS แต่ละตัวจะมีการเปลี่ยนโหมดไฟล์ที่ไม่เหมือนกัน อาทิเช่น ระบบPHPNuke จะเปลี่ยนไฟล์ config.php และ config-old.php เป็น 666 เป็นต้น การที่เราจะเปลี่ยนที่ไฟล์ไหนนั้นปกติระบบ cms ที่เราใช้จะแนะนำให้อยู่แล้ว เราสามาถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในไฟล์ readme.txt หรือในไดเร็กทอรีdoc ของตัวติดตั้งนั้นๆ

http://surawutn.blogspot.com/2012/06/linux-windows.html






    
ระบบปฏิบัติการWindows 

     Windows คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง (operating system) สร้างขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เนื่องจากความยากในการใช้งานดอสทำให้บริษัทไมโครซอฟต์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Windows ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-User Interface) ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่งใกล้เคียงกับแมคอินทอชโอเอส เพื่อให้การใช้งานดอสทำได้ง่ายขึ้น แต่วินโดวส์จะยังไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจริง ๆ เนื่องจากมันจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของดอสอีกที กล่าวคือจะต้องมีการติดตั้งดอสก่อนที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows และผู้ใช้จะสามารถเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดอสได้โดยผ่านทางWindows   ซึ่ง Windows จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส 
     ระบบปฏิบัติการ windows ใช้หลักการแบ่งงานเป็นส่วน เรียกว่า หน้าต่างงาน (windows) ที่แสดงผลลัพธ์แต่ละโปรแกรม ปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่ายหลายรุ่น เช่น Windows XP , Windows Vista, Windows 7 เป็นต้น
http://www.sitech.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=154:-windows-xp-mode-xpm--windows-7--med-v&catid=40:IT-news&Itemid=18

ความแตกต่าง
ข้อแตกต่างระหว่าง Windows XP Mode (XPM) ใน Windows 7 กับ MED-V
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog

วัตถุประสงค์ในการพัฒนาทั้ง Windows XP Mode (XPM) และ MED-V ของไมโครซอฟท์
ก็เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เข้ากันของโปรแกรมกับระบบปฏิบัติการตัวใหม่ หรือที่ศัพท์เทคนิค
เรียกว่าการไม่คอมแพตติเบิล (Incompatible) อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 อย่างนี้ มีข้อแตกต่างกัน
หลายอย่าง ดังนั้นเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ผมจึงรวบรวมข้อมูลนำเสนอในบทความนี้ครับ
Windows XP Mode
Windows XP Mode นั้นถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการใช้งานในองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อช่วยให้สามารถทำการรันแอพพลิเคชันรุ่นเก่าที่ทำงานได้เฉพาะบน Windows XP บนสภาพแวดล้ิอมเดสก์ท็อปของ Windows 7 ได้ โดยมีคุณลักษณะดังนี้

• Windows XP Mode มีให้ใช้งานเฉพาะผู้ที่ใช้ Windows 7 เวอร์ชัน Professional, Ultimate และ Enterprise เท่านั้น โดยผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าไลเซนส์หรือค่าซอฟท์แวร์เพิ่มเติมแต่อย่างใด

• Windows XP Mode เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง Windows Virtual PC และ เวอร์ชวลแมชชีนของ Windows XP ที่ไมโครซอฟท์คอนฟิกไว้ล่วงหน้า สำหรับการรับแอพพลิเคชันรุ่นเก่า

• Windows Virtual PC ช่วยให้ผู้ใช้เรียกใช้งานแอปพลิเคชันเก่าจาก Start menu ของ Windows 7 ในลักษณะเดียวกันกับการเปิดใช้โปรแกรมอื่นๆ ทำให้ผู้ใช้ไม่รู้สึกถึงความแตกต่างในการใช้งานระหว่างแอปพลิเคชันเก่าที่รันอยู่บน Windows XP Mode กับแอพพลิเคชันที่รันบน Windows 7

• Windows Virtual PC สามารถรองรับอุปกรณ์ USB และการทำงานแบบ Multi-threading

Microsoft Enterprise Desktop Virtualization (MED-V)
MED-V นั้นถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ โดยมีคุณลักษณะดังนี้

• MED-V ใช้ในการปรับใช้ Virtual PC ในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่

• MED-V รองรับการจัดการแบบ centralized management, policy-based provisioning และ virtual image delivery เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปรับใช้ Virtual PC

• MED-V v1 สร้างขึ้นบนพื้นฐาน Microsoft Virtual PC 2007 เพื่อช่วยองค์กรในการอัพเกรดระบบวินโดวส์เป็น Windows Vista เมื่อประสบกับปัญหาแอพพลอเคชันไม่คอมแพตติเบิล

• MED-V v2 จะเพิ่มการสนับสนุนสำหรับ Windows 7 (ทั้ง 32 bit และ 64bit) และ Windows Virtual PC

• MED-V v2 beta จะมีให้ใช้งานได้ภายใน 90 วัน ของ Windows 7 GA (General Availability)

• MED-V ทำงานได้ทั้งบน Windows 7 และ Windows Vista

• MED-V เป็นองค์ประกอบหนึ่งของชุดโปรแกรม Microsoft Desktop Optimization Pack (MDOP) และมีให้ใช้งานเฉพาะผู้ที่ใช้ที่เป็นลูกค้าแบบ Software Assurance เท่านั้น
http://www.sitech.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=154:-windows-xp-mode-xpm--windows-7--med-v&catid=40:IT-news&Itemid=18



ระบบปฏิบัติการAndroid
แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น
http://guru.sanook.com

ความแตกต่าง
Android เป็นระบบแบบเปิด ทำให้สามารถปรับแต่งได้ ตั้งแต่เปลี่ยนหน้า home screen ไปจนถึงการแก้ไขไฟล์ระบบ เปลี่ยนระบบปฏิบัติการ (Ubuntu OS)
ส่วน iOS ระบบ interface ทำง่ายกว่าและแข็งแรงกว่า Android ครับ เฉพาะแค่ Core Graphicsของมันมี library สำเร็จรูปน้องๆ Photoshop และมันทำงานได้ดีกว่าระบบอื่นเยอะมากทดสอบง่ายๆ ถ้าเอาภาพ 10,000 ใส่เงา รันบน iOS มันสามารถรัน 60fps สบายๆ
ในขณะที่ Android รุ่นใหม่ล่าสุดค้างไปตั้งแต่เปิด app แล้ว และถ้าเขียน App ที่ต้องใช้งาน Multi-threaded มันบริหาร memory ได้ดีกว่า Android มาก ถ้าสังเกตุพวก App ด้านการจัดการเสียง หรือพวกเล่นดนตรี App มันจะทำงานได้ดีและเสถียรกว่าไม่มีการ delay
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของ dev ด้วยว่าจะเอามันมาใช้ได้แค่ไหน
http://www.smartdroidphone.com









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น